เลือดไทย

สงคราม 9 ทัพ

ปฏิทิน ของฉัน

ภาพสวยๆอีกครับ

ภาพสาวยชุด 3 ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คอมมิวนิสต์ ทุกคนเท่าเทียมกัน...ประชาธิปไตยไทย ทุกคนเท่าเทียมกัน ?

คอมมิวนิสต์ ทุกคนเท่าเทียมกัน...ประชาธิปไตยไทย ทุกคนเท่าเทียมกัน ?

พรรค คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เดิมเรียกว่า “พรรคคอมมิวนิสต์สยาม” ผู้ก่อตั้งคนแรกชื่อ สหายซุง หรือสหายโฮจิมินห์ ผู้นำชาวเวียดนาม มีการประชุมลับครั้งแรก เมื่อ 20 เมษายน 2473 ต่อมาได้ตั้งเป็น พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในคราวประชุมสมัชชาพรรค เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2485 ที่จังหวัดนครสวรรค์

ในโอกาสครบรอบ 67 ปี ของการก่อตั้งพรรค วันที่ 1 ธันวาคม 2552 อดีตเลขาธิการใหญ่ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ถึงสมาชิกพรรค “ให้สามัคคีกัน บนหลักการลัทธิมาร์ซ-เลนิน เพื่อก้าวไปสู่ชัยชนะของมวลมหาประชาชน”

อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ บนถนนแห่งประชาธิปไตยไทย จะเป็นอย่างไรค้นหาคำตอบได้จาก... ธง แจ่มศรี อดีตเลขาธิการใหญ่ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในรายการ Intelligence

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย พร้อมคืนชีพ


พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย พร้อมคืนชีพ

จดทะเบียนพรรคเป็นทางเลือกใหม่ พคท. เตรียมฟื้นพรรค จดทะเบียนตามกฎหมาย หวังเป็นทางเลือกที่ 3 ให้ชนชั้นกลางและล่าง นายสุรชัย แซ่ด่าน นักเคลื่อนไหวมวลชน อดีตผู้ปฏิบัติงานพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง ประเทศไทย (พคท.) กล่าวว่า ที่ประชุมของอดีตสมาชิกซึ่งเคยเคลื่อนไหวปฏิบัติงานในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ได้ประชุมร่วมกันที่อนุสรณ์สถานบ้านช่องช้าง ต.พรุพี อ.นาสาร จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวานนี้ ได้มีมติเห็นควรให้มีการปรับปรุง พลิกฟื้นพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นมาใหม่ โดยไป จดทะเบียนพรรคให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้เป็นพรรคทางเลือกที่ 3 สำหรับชนชั้นกลางและชนชั้นล่างอย่างแท้จริง นายสุรชัย กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองของประเทศในเวลานี้ มีแค่พรรคการเมืองสองทางเลือกเท่านั้น คือพรรคทุนใหญ่ ที่รวมอยู่ในพรรคไทยรักไทย และพรรคทุนเก่าศักดินา คือพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่มีพรรคที่เป็นตัวแทนของชนชั้นกลางและชนชั้นล่าง จึงไม่มีการถ่วงดุลอำนาจและการต่อรองในสังคมไทย นายสุรชัย กล่าวต่อว่า พรรคคอมมิวนิสต์ ยังมีโครงสร้างเดิมอยู่ เพียงแต่ขณะนี้อ่อน ประสิทธิภาพลง แต่ในวันนี้รัฐได้ยกเลิก พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์แล้ว อดีตเลขาธิการ พคท.ยังมีชีวิตอยู่ อาจจะมีการตั้งสมัชชาขึ้นมาและประชุมกันอีกครั้ง พรรคไม่ได้มุ่งหวังว่าจะได้เป็นพรรคการเมืองที่ได้เป็นรัฐบาลภายใน 4 ปีข้างหน้า หรือต้องการส่งใครเข้าไปเป็นผู้แทนในสภาให้ได้ แต่จะเป็นพรรคการเมืองสำหรับอนาคต “เราประสงค์จะใช้ชื่อว่าพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ถ้าไม่ได้เราอาจจะต้องไปร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือศาลรัฐธรรมนูญ ด้านวิธีดำเนินการจะให้กองทุนอนุสรณ์สถานบ้านช่องช้าง เป็นแม่งานหลักในการดำเนินการสร้างพรรค เราจะไม่ใช้ทฤษฎีการปฏิวัติแบบโค่นล้ม ซึ่งหมดสมัย ไปแล้ว แต่จะนำเสนอทฤษฎีผสมผสาน ที่ สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง จุดสูงสุด ของทุนนิยมมาถึงแล้ว และจะสลายไปเองใน ไม่นานนี้” นายสุรชัย กล่าว

มีบทความดีๆ มาฝากสหาย

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) (อังกฤษ: Communist Party of Thailand - CPT) เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย แม้ตามกฎหมายไทย พคท.จะยังไม่ใช่พรรคการเมืองจดทะเบียน เนื่องจากไม่เคยจดทะเบียนจัดตั้งอย่างเป็นทางการ แต่ในทางปฏิบัติต้องถือว่าเป็นพรรคการเมืองจริง มีอุดมการณ์การเมืองชัดเจนตั้งแต่ก่อตั้ง ดำเนินแนวทางตาม ลัทธิมาร์กซ์, ลัทธิเลนิน และความคิดเหมาเจ๋อตง. นอกจากนั้น ในอดีต ยังมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทยที่สังกัด พคท. อีกด้วย ได้แก่ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ในปัจจุบัน ถึงแม้จะยังไม่มีการประกาศยุบพรรค แต่ก็มิได้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองแต่อย่างใด. ช่วงปี พ.ศ. 2547 ก่อนการเลือกตั้งทั่วไป มีกระแสข่าวจากหลายสื่อ[ต้องการอ้างอิง]ว่า ทางพรรคอาจจะมีการจัดการประชุมสมัชชาพคท.อีกครั้ง (เป็นการประชุมครั้งที่ 5) แต่จนถึงบัดนี้ (ตุลาคม พ.ศ. 2552) ก็ยังไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ ที่เป็นรูปธรรม
เนื้อหา

ประวัติ
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เดิมเรียก พรรคคอมมิวนิสต์สยาม เริ่มก่อตั้งโดยสหายโฮจิมินห์ ชาวเวียดนาม ใช้นามแฝงว่า สหายซุง โดยประชุมครั้งแรกแบบลับๆ ที่ โรงแรมตุ้นกี่ หน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง เมื่อ 20 เมษายน พ.ศ. 2473 โดยแต่งตั้งหลี หรือ โงจิ๊งก๊วก เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก และมีตัวแทนสองคนคือ ตัง หรือ เจิ่นวันเจิ๋น และ เหล่าโหงว หรือ อู่จื้อจือ[1] จนก่อตั้งเป็นรูปร่างเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2485 หลังการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 ที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีสมาชิกก่อตั้ง 57 คน พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเป็นพรรคแนวอุดมการณ์ ยึดมั่นในลัทธิมาร์กซ เลนินและความคิด"เหมา" โดยมีความมุ่งหมายเพื่อสร้างความเสมอภาคทางชนชั้นชี้นำสังคมโดยพรรคคอมมิวนิสต์ และต่อสู้เอาชนะระบบทุนนิยมด้วยวิธี"ป่าล้อมเมือง"
วันเสียงปืนแตก
ดูบทความหลักที่ วันเสียงปืนแตก
วันเสียงปืนแตก คือวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2508 ซึ่งเป็นวันที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยใช้อาวุธโจมตีกองกำลังของรัฐบาลไทยเป็นครั้งแรก กองกำลังของพรรคได้เรียกตนเองว่า กองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย (ทปท.) เหตุเกิดที่ บ้านนาบัว ตำบลเรณูนคร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ทั้งนี้ได้ประกาศยุทธศาสตร์"ต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ ใช้ชนบทล้อมเมือง และยึดเมือง" หลังจากวันเสียงปืนแตก พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยก็ต่อสู้ด้วยอาวุธกับกองกำลังของรัฐบาลไทยมาตลอด จนกระทั่งปี พ.ศ. 2525 มีการเจรจากับรัฐบาลไทย เลิกต่อสู้กันด้วยอาวุธ ให้มาต่อสู้กันทางรัฐสภาแทน
รายชื่อเลขาธิการพรรค
รายชื่อเลขาธิการพรรคเรียงตามวาระที่ได้ดำรงตำแหน่ง โดยการเลือกเลขาธิการพรรคนั้น จะกระทำในที่ประชุมสมัชชาพคท.แต่ละครั้ง
พ.ศ. 2485 - พิชิต ณ สุโขทัย (จูโซ่วลิ้ม, พายัพ อังคะสิงห์) (แหล่งข้อมูลบางแหล่งไม่เห็นด้วยกับข้อมูลนี้ โดยอ้างว่า ในขณะนั้น นายพิชิตไม่ได้เข้าร่วมประชุมสมัชชาด้วย)
พ.ศ. 2495 - ประสงค์ วงศ์วิวัฒน์ (ทรง นพคุณ)
พ.ศ. 2504 - มิตร สมานันท์ (เจริญ วรรณงาม) ชาวอุดรธานี การศึกษาจบสาขาวารสารศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมต่อต้านญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ศึกษาต่อที่สถาบันลัทธิมารก์ซเลนินที่กรุงปักกิ่ง
พ.ศ. 2525 - ประชา ธัญญไพบูลย์ (ธง แจ่มศรี) ชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม เข้าร่วมพรรคตั้งแต่อายุ 17 ปี